Sunday, September 6, 2020

คอลัมน์การเมือง - เหมืองทองการเมือง ถล่มทับนักบิดเบือน - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

timpahbatu.blogspot.com

ประเด็นเหมืองทองคำ กลายเป็นประเด็นที่ฝ่ายการเมืองขุดขึ้นมาถล่มนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้า คสช. อย่างต่อเนื่อง และร้อนแรง

เรียกว่า กะถล่มให้จมธรณีกันเลยทีเดียว


แต่ปรากฏว่า ยิ่งขุดลึกไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งไปเจอความชั่วช้าสามานย์ของฝ่ายการเมืองในอดีต และตรงกันข้าม ยิ่งทำให้เห็นแก่นแท้ของพลเอกประยุทธ์ที่กล้าใช้มาตรา 44 ปกป้องชาวบ้านรอบเหมืองทอง

1. สัปดาห์ที่แล้ว เครือข่ายภาคประชาชน 5 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทอง ประกอบด้วย พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลพบุรี และสระบุรี ในนามกลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ เข้ายื่นหนังสือถึงประธานและคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อติดตามทวงถามเรื่องการเอาผิดนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ไม่สั่งปิดการทำเหมืองทองของบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่รายหนึ่ง

นางวันเพ็ญ พรมรังสรรค์ รองประธานกลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ เปิดเผยว่า การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดำเนินการเพิกถอนประทานบัตรสำรวจแร่ทองคำของบริษัทเอกชนดังกล่าว เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน โดยเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2562 ทางเครือข่ายฯ เคยยื่นร้องทุกข์ต่อ ผบ.ตร. เรื่องถูกส่งต่อไปยัง ป.ป.ช. จึงได้มายื่นติดตามทวงถามความคืบหน้า

ส่วนกรณี พล.อ.ประยุทธ์ ใช้มาตรา 44 ระงับเหมืองทองไว้ชั่วคราวนั้น แม้จะเกิดข้อพิพาท ต้องมีการใช้งบประมาณไปต่อสู้คดี ยืนยันว่า ตนได้ติดตามเรื่องมาตั้งแต่ปี 2557 พบว่า บริษัทไม่ได้ถูกสั่งปิดเหมืองจริง เพราะมาตรา 44 สั่งยุติและไม่ต่อใบอนุญาตโรงประกอบโลหกรรมที่สิ้นอายุลงตามปกติ จึงไม่ได้เป็นการละเมิดข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ และรัฐบาลไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆให้กับเอกชน

นางอารมย์ คำจริง ประธานกลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ กล่าวขอบคุณรัฐบาลลุงตู่ และชื่นชมในความกล้าหาญที่นำความเดือดร้อนของชาวบ้านไปแก้ไข ยืนยันว่า ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านรอบเหมืองทองได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมาตลอด โดยที่มีผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรยืนยันว่า มีการรั่วซึมของบ่อเก็บกักแร่ที่ 1 ลงสู่ชุมชนรอบเหมืองทองจริง นอกจากนี้ ยังมีคดีความผิดอีกมากมายหลายเรื่องเกี่ยวกับเหมืองทองคำ ซึ่งขณะนี้ คดีอยู่ในชั้น ป.ป.ช. และดีเอสไอ บางคดี ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว

2. ข้อเท็จจริงที่คนไทยต้องรู้ คดีเหมืองทองอัครา

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้นำเสนอข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊ค ว่าด้วยคดีเหมืองทองอัครา ระบุว่า กรณีนี้มีประเด็นแยกเป็นส่วนๆ ไป

(1) คดีเอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย คดีนี้ไทยจะเพลี่ยงพล้ำเหมือนคดีโฮปเวลล์? หรือชนะเหมือนคดีคลองด่าน

การต่อสู้ทางกฎหมายแยกเป็นขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการในประเทศสิงคโปร์ กับขั้นตอนการนำคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการมาฟ้องบังคับในศาลไทย

ขั้นตอนแรก มองว่าไทยมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะเขาอ้างว่าการที่เราใช้ ม.44 จะเพื่อยุติหรือเลิกสัมปทาน เป็นวิธีที่ไม่เป็นธรรมเพราะเขาไม่มีโอกาสเจรจา ชี้แจงหรือแก้ไข อีกทั้งสาเหตุของไทยที่ให้ยุติสัมปทานคือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง ที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากเดือดร้อนต่อเนื่องเป็นเวลานาน ไม่ใช่ประเด็นกรณีติดสินบน
เจ้าหน้าที่

ขั้นตอนที่สองนี้ รัฐบาลอาจยกเหตุการติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้สัมปทานมาต่อสู้ เช่นเดียวกับคดีคลองด่านและคดีทางด่วนบางนา - บางปะกง

(2) คดีบริษัทติดสินบนข้าราชการและนักการเมือง เชื่อว่า ป.ป.ช. จะเอาคนผิดมาลงโทษได้ ผลที่ตามมาคือ “บริษัท” (นิติบุคคล) และตัวผู้บริหารต้องรับผิดด้วย ตามกฎหมายใหม่กรณีนี้นอกจากโทษอาญาแล้วยังมีโทษปรับสูง 1 ถึง 2 เท่าของผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับไปตลอดอายุสัมปทานด้วย เช่น สมมุติว่าบริษัทจะได้ประโยชน์หมื่นล้านบาท ป.ป.ช. อาจเรียกค่าปรับมากถึงสองหมื่นล้านบาทก็ได้

(3) ข้อมูลการติดสินบนที่มาจากตลาดหลักทรัพย์ ออสเตรเลีย ตามที่คุณสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. พูดถึงนั้น เป็นข่าวที่ทราบกันมาก่อนหน้ามีคำสั่ง คสช. นานพอสมควร แต่เข้าใจว่าทางราชการต้องใช้เวลา ความพยายามและความรอบคอบอย่างมากในการหาข้อมูลจนมั่นใจ

(4) ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่สิงคโปร์ หลักทั่วไปถือเป็นเรื่องสมควรแล้วที่รัฐบาลต้องสู้เต็มที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของแผ่นดินและเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ค่าใช้จ่ายจะสูงมากเพราะเป็นการต่อสู้ในต่างประเทศก็ตาม ส่วนจะแพงเกินไปหรือไม่ ควรเปรียบเทียบกับมาตรฐานทางธุรกิจจากนักกฎหมาย นักธุรกิจ นักลงทุนระหว่างประเทศ ดีกว่าจะใช้ความรู้สึกไปตัดสิน แต่หากภายหลังพบว่าการปฏิบัติหน้าที่นั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อร้ายแรงหรือคอร์รัปชัน ก็สามารถไล่เบี้ยค่าเสียหาย
คืนภายหลังได้

(5) น่าสังเกตว่า กรณีนี้ฝ่ายไทยและบริษัทเอกชน ตกลงกันตั้งแต่ต้นแล้วว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้ใช้อนุญาโตตุลาการในต่างประเทศ ประเด็นคือ ทำไมเราต้องอ่อนข้อให้เอกชนขนาดนั้น และทำไมนักลงทุนต่างชาติจึงไม่มั่นใจในระบบยุติธรรมของไทยมากเช่นนั้น

(6) มาช่วยกันหาข้อมูลบริษัทคู่กรณีกลุ่มนี้ดูว่า ที่ผ่านมามีข้าราชการเกษียณรายใดไปเป็นลูกจ้างหรือกินเงินเดือนที่ปรึกษาจากบริษัทนี้บ้าง ถ้ามีคงอธิบายอะไรดีๆ ได้อีกมาก

“ขอขอบคุณ ป.ป.ช. ที่แถลงความคืบหน้าให้ประชาชนทราบเสียที

แต่ที่ผมไม่เข้าใจคือ ทำไมที่ผ่านมาจึงมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามปล่อยข่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าไทยแพ้คดีแล้ว แถมต้องจ่ายค่าเสียหายมากตั้งหลายหมื่นล้านบาท

ข่าวที่ไม่เป็นจริงเช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์กับบ้านเมืองเลย ทำไปเพื่ออะไรครับ” - ดร.มานะ ถามตรงๆ

3. กล่าวโดยสรุป คดีที่เกี่ยวข้องกับเหมืองทอง ไม่ได้มีเฉพาะคดีข้อพิพาทที่ฝ่ายการเมืองพยายามขุดมาเล่นงานฝ่ายรัฐบาลอยู่ในเวลานี้เท่านั้น

ถ้าจริงใจกับผลประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมจริง จะต้องไม่ละเลยที่จะกล่าวถึงคดีอื่นๆ ที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้เสียหายและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดด้วย อาทิ

คดีเหมืองทองบุกรุกแผ้วถางป่า และรุกล้ำเขตทางหลวง กรณีนี้ ทราบว่าดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ สรุปสำนวนส่งอัยการ

คดีสินบนข้ามชาติ แลกผลประโยชน์สัมปทานเหมือง กรณีนี้ ป.ป.ช.กำลังไต่สวน ล่าสุด เผยว่าพบหลักฐานอีเมล ส่งเงินพักที่ฮ่องกง สิงคโปร์ ระบุชื่อบุคคล อยู่ระหว่างการประสานขอหลักฐานยืนยันเพื่อเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง

คดีที่ข้าราชการระดับอดีตอธิบดีและพวก ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดไปแล้ว ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เอื้อประโยชน์แก่เอกชนเหมืองทอง และที่สำคัญ กรณีนี้ เอกชนถูกชี้มูลความผิดฐานสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดด้วย ขณะนี้อยู่ในชั้นอัยการ

คดีเครือข่ายผู้เสียหายยื่น ป.ป.ช. ร้องไต่สวนเอาผิด “สุริยะ-บิ๊กอุตสาหกรรม” ฐานไม่สั่งปิดเหมืองทอง ฯลฯ

ในความเป็นจริง จะเห็นว่า กรณีเกี่ยวกับเหมืองทองคำ ยังมีคดีอีกหลายคดี ที่เป็นประโยชน์ในการทวงคืนความยุติธรรมแก่ประเทศชาติส่วนรวมอย่างแท้จริง

สารส้ม

Let's block ads! (Why?)



"คนขุดแร่" - Google News
September 07, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/33380qr

คอลัมน์การเมือง - เหมืองทองการเมือง ถล่มทับนักบิดเบือน - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"คนขุดแร่" - Google News
https://ift.tt/2Y0BLWo
Share:

0 Comments:

Post a Comment