Friday, July 31, 2020

ไขข้อสงสัยมนุษย์ให้ค่า 'ทองคำ' ตั้งแต่เมื่อไร ทำไมแพงหูฉี่? - กรุงเทพธุรกิจ

timpahbatu.blogspot.com

31 กรกฎาคม 2563 | โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

27

ราคา "ทองคำ" ที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในตอนนี้ ชวนให้เกิดคำถามตามมาว่า คนเราให้ค่า "ทองคำ" ตั้งแต่เมื่อไรกัน? ถูกค้นพบตอนไหน แล้วทำไมมันถึงได้ราคาพุ่งรัวๆ ขนาดนี้ มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

อย่างที่ทราบกันว่าตอนนี้ “ราคาทอง” ในตลาดโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ล่าสุดพบว่าราคา “ทองคำ” ปรับขึ้นไปอยู่ระดับสูงสุดของปีนี้ที่ 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบเกือบ 9 ปี (เทียบกับราคาในเดือน ก.ย. 2554) ส่วนในประเทศไทยพบว่าราคาทองคำแตะนิวไฮที่บาทละ 29,000-29,500 บาท โดยราคาซื้อและราคาขายแทบไม่ต่างกัน

ว่าแต่.. ทำไม ทองคำ  ถึงกลายเป็นของมีค่าได้ขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ในประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีก่อน พบว่าสิ่งที่มีค่าของมนุษย์ในยุคนั้นคือ “เกลือ” และ “เครื่องเทศ” แต่พอมาถึงยุคหนึ่ง “ทองคำ” กลับกลายเป็นสินแร่ที่มีค่าและราคาสูงขึ้นมาซะอย่างนั้น ก่อนจะสงสัยไปมากกว่านี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะพาไปหาคำตอบว่ามนุษย์เราให้ค่ากับ  "ทองคำ"  มาตั้งแต่เมื่อไร? รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับทองที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน!

1.  “ทองคำ” = ธาตุเคมีเลขอะตอม 79

ทองคำ (gold) คือ ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และมีสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาว เนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ และสามารถใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งทางด้านงานทันตกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นเครื่องประดับสวยงามราคาสูง

2. “ทองคำ” เกิดขึ้นในอวกาศ!!

แม้ว่าแร่ธาตุชนิดนี้สามารถขุดพบได้ที่โลกของเรา แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว ทองคำไม่ได้ก่อกำเนิดขึ้นมาบนพื้นโลก แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอวกาศ โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ทองคำจะก่อตัวเกิดขึ้นได้ภายใต้แรงดันมหาศาลเท่านั้น อย่างเช่นการระเบิดของดวงดาว หรือเกิดจากการชนกันของดาวนิวตรอน และก็เป็นไปได้ว่าทองคำที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นั้น ส่วนหนึ่งจะปลิวตามแรงระเบิด แล้วติดมากับอุกกาบาตที่พุ่งเข้ามายังโลก ทำให้โลกของเราได้รับสายแร่ทองคํามาตั้งแต่นั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง  :   

159618866676

3. คนเราให้ค่า “ทองคำ” ตั้งแต่เมื่อไร

นักโบราณคดีค้นพบว่าหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างมนุษย์กับทองคำ คือเมื่อราวๆ 40,000 ปีก่อน   ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในสภาพของ “เกล็ดทอง” ภายในถ้ำของมนุษย์ยุคหินเก่า แต่นั่นก็ไม่ได้ยืนยันว่ามนุษย์ในยุคนั้นให้ค่ากับมันมากมายนัก พวกเขาอาจจะแค่เอามาเก็บไว้เพราะความแววาวหรือแปลกตา

ส่วนหลักฐานว่ามนุษย์มีการนำทองไปให้งานจริงๆ ก็คือในช่วง “อารยธรรมเมโสโปเตเมีย” เมื่อราวๆ 4,600 ปีที่แล้ว   พบว่ามีการใช้ทองในการทำเครื่องประดับ หรือเป็นของตกแต่งบ้านเป็นหลัก เพราะทองคือสิ่งของหายาก มีสีสันเอกลักษณ์และดึงดูดสายตา นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นมา คุณค่าของทองในสายตาของมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ช่วงยุคสำริด) หรือเมื่อราวๆ 2,700 ปีก่อน มนุษย์เราก็เริ่มใช้เหรียญทองและเหรียญเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของ

4. “ทองคำ” = ความรุ่งเรืองของอียิปต์

ทองคำได้นำมาใช้เป็นเครื่องตกแต่งในพิธีกรรมทางศาสนา หรือเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความมีอำนาจและความรุ่งเรือง โดยเฉพาะในประเทศอียิปต์ซึ่งเป็นประเทศที่มีเครื่องทองปรากฏให้เห็นตั้งแต่ประมาณ 4,000 ปีก่อนศริสต์ศักราช ต่อมาได้มีการค้นพบอีกในประเทศมาเซโดเนีย อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

5. ทองคำกับระบบเงินตรา

ในคริสตศตวรรษที่ 19 ได้มีการเอามาตรฐานทองคำเข้ามาใช้ในระบบเงินตราในหลายประเทศ โดยรัฐบาลเป็นผู้หลอมทำและจำหน่ายเงินเหรียญทองคำ ทองคำจึงกลายมาเป็นพื้นฐานหลักของระบบเงินตราไป ได้มีการกำหนดมาตรฐานทองคำใช้กันเป็นครั้งแรกที่สุดในประเทศอังกฤษ แล้วค่อยๆ แผ่ขยายออกไปยังประเทศอื่นๆ ต่อมามีการค้นพบทองคำในแคลิฟอร์เนีย และในออสเตรเลีย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจในยุโรปตะวันตกและในอเมริกาเหนือเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

159618866670

6. ทำไมทองคำถึงได้แพงขนาดนี้?

รู้หรือไม่? ทองคำบริสุทธิ์บนโลกมีอยู่แค่ราวๆ 190,000 ตัน หรือเทียบเท่ากับปริมาณของสระว่ายน้ำโอลิมปิกเพียง 3 สระเท่านั้น เราจะได้สระน้ำทองคำแค่ 3 สระเท่านั้น เมื่อทองมีน้อยแต่ในท้องตลาดมีความต้องการซื้อสูง (ว่าง่ายๆ คือมันหายาก) นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ทองคำมีราคาแพง  และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทองมีราคาแพง นั่นคือ กระบวนการให้ได้มาซึ่งทองคำบริสุทธิ์นั้นทำยากมาก ตั้งแต่การขุดเจาะ คัดกรองสายแร่ทองคำ และการแปรรูป ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงมาก บางครั้งก็อาจไม่คุ้มกับการลงทุนขุดเจาะ จึงยิ่งทำให้ทองคำมีราคาสูงไปอีก

7. “ทองคำ” มีมวลเท่าเดิมเสมอ

คุณลักษณะที่โดดเด่นของทองคำ  คือสามารถหลอม ยืด และดัดแปลงรูปร่างได้ง่ายโดยไม่เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะไปประกอบอยู่ในวัสดุอะไรก็ตาม ก็สามารถแยกทองออกมาได้ในปริมาณเท่าเดิมเสมอ  อีกทั้งมีข้อมูลในทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์ต่างๆ และมนุษย์ มีพฤติกรรมให้ความสนใจกับ “ของมันวาว” อยู่แล้ว โดยเฉพาะทองคำที่มีความมันวาวสวยงาม ด้วยเหตุผลเหล่านี้มนุษย์จึงหลงใหลในแร่ทองคำเป็นอย่างมาก

8. “ทองคำ” ไม่ขึ้นสนิม

นอกจากจะมีความแวววาวแล้ว อีกหนึ่งคุณสมบัติของทองคำที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน นั่นคือ ไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม อีกทั้งยังสามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี จึงได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด

9. “ทองคำ” อ่อนตัวมากที่สุด

ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด โดยทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์ (ประมาณ 2 บาท) เมื่อนำไปหลอมและดึงเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต

159618866682

10. เมืองไทย = สุวรรณภูมิ (ดินแดนแห่งทองคำ)

เมื่อปี พ.ศ. 2414 มีการค้นพบทองคำที่บ้านบ่อ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และได้มีการทำเหมืองด้วยวิธีการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในปี พ.ศ. 2416 โดยพระปรีชากลการเจ้าเมืองปราจีนบุรี ต่อมาในสมัย ร.5 มีชาวต่างประเทศได้เข้าติดต่อค้าขายและมีการเสาะหาทรัพยากรธรรมชาติ จนมีชาวอิตาเลียนคนหนึ่งได้ขอทำการขุดทองที่บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเขาได้เผยแพร่ออกไปว่าเมืองไทยมีแหล่งทองคำ ทำชาวต่างชาติอื่นๆ หันมาให้ความสนใจ

ต่อมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  รัฐบาลได้ให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำแก่บริษัทจากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสหลายแห่ง มีบันทึกว่า บริษัท Societe des Mine d’Or de Litcho ของฝรั่งเศส ได้ทำเหมืองแร่ทองคำที่แหล่งโต๊ะโมะ จังหวัดนราธิวาส ในระหว่างปี พ.ศ. 2479 - 2483 ได้ทองคำหนักถึง 1,851.44 กิโลกรัม 

----------------------

อ้างอิง :   

wikipedia.org/ทองคำ

www.goldtraders.or.th

ed.ted.com/

www.hellogold.com

www.businessinsider.com

Let's block ads! (Why?)



"คนขุดแร่" - Google News
July 31, 2020 at 05:00PM
https://ift.tt/3jX0s0e

ไขข้อสงสัยมนุษย์ให้ค่า 'ทองคำ' ตั้งแต่เมื่อไร ทำไมแพงหูฉี่? - กรุงเทพธุรกิจ
"คนขุดแร่" - Google News
https://ift.tt/2Y0BLWo
Share:

0 Comments:

Post a Comment