ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ใน Trueid มหา'ลัย เหมืองแร่ (คลิกที่ลิ้งค์ได้เลย)
15 ค่ำ เดือน 11
เนื้อเรื่องย่อ
เรื่องราวของบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพไปกว่าแปดชั่วโมง แต่ที่แห่งนี้ กลับมีสิ่งเร้นลับมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นตรงกันทุกปี ในคืนวันออกพรรษา บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ กลายเป็นเรื่องที่โด่งดังไปทั่วโลก และยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่า บั้งไฟพญานาค เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นพุทธบูชาของพญานาค จริงตามความเชื่อ และ ศรัทธาของชาวอีสาน ยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทาย และรอคอยการพิสูจน์มาจนทุกวันนี้
กลุ่มพระทางฝั่งประเทศลาวที่ร่วมกันสร้างปฏิบัติการ "บั้งไฟพญานาค" ขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ที่คงเรียกได้ว่า "เป็นความผิดโดยสุจริต" เพื่อคงไว้ซึ่งศรัทธาในพุทธศาสนา และเมื่อ คาน เด็กหนุ่มที่ หลวงพ่อโล่ ชุบเลี้ยงมาแต่เล็กแต่น้อย เกิดปฏิเสธที่จะร่วมวงในปฏิบัติการในปีนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าโลกที่แท้จริงภายนอกนั้น วิวัฒนาการมันก้าวไกลเกินกว่าที่จะมานั่งหลอกคนแบบนี้ได้ แต่โลกใบที่ คาน บอก มันเป็นคนละโลกกับโลกของหลวงพ่อ โลกที่ความศรัทธายังคงเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงให้ทุกชีวิตดำเนินต่อไป ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมิได้หยุดอยู่แค่ความคิดของคนต่างฝ่ายที่คิดเห็นไม่เหมือนกัน แต่มันยังลามไปถึงความขัดแย้งระหว่างขอบเขตของการทำสิ่งที่เชื่อว่าเป็นการทำความดีและการหลอกลวง
นักแสดง
- อนุชิต สพันธุ์พงษ์ รับบท คาน
- ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ รับบท ครูอลิศ
- บุญชัย ลิ่มอติบูลย์ รับบท หมอนรติ
- นพดล ดวงพร รับบท หลวงพ่อโล่ห์
- สุรสีห์ ผาธรรม รับบท ครูใหญ่
- สิงห์คาน นันกวน รับบท พระยอดสน
- ชนินทร์ โปสาภิวัฒน์ รับบท ดร.กริช
- สมชาย ศักดิกุล รับบท ดร.สุรพล
- บุญศรี ยินดี รับบท ป้าออง
ผลงานกำกับเรื่องแรกของจิระ มาลิกุล ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกออกฉายในปี พ.ศ. 2545 สร้างมาจากความเชื่อของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน เกี่ยวกับปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาคหรือดวงไฟสีชมพูจำนวนมาก ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขงในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ในท้องถิ่นอำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก เพราะถูกชาวหนองคายบางส่วนประท้วงเรียกร้องไม่ให้ฉาย หาว่ามีการบิดเบือนเรื่องของบั้งไฟพญานาคที่มีความเชื่อแต่โบราณว่าพญานาค ซึ่งเป็นสัตว์ในนิยายปรัมปรา เป็นผู้จุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นทั้งด้านความเชื่อและวิทยาศาสตร์ ที่มีนักวิจัยออกค้นหาสาเหตุ พบเงื่อนงำมากมาย ตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ้งกินใจจนคนดูอาจคาดไม่ถึง และข้ออ้างของผู้กำกับ จิระ มะลิกุล ที่เรียกร้องให้ชาวหนองคายที่ประท้วงภาพยนตร์เรื่องนี้ ดูให้จบเรื่องก่อน
ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 55 ล้านบาท ติดอันดับ 100 ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด และได้รับรางวัลมากมายในปี 2546
รางวัล
- พ.ศ. 2546 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 12 ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและขนะรางวัลกว่า 10 รายการ
- พ.ศ. 2546 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 11 ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและขนะรางวัล 11 รายการ
- พ.ศ. 2546 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 26 ประจำปี พ.ศ. 2545 ชนะรางวัล 3 รายการ
- พ.ศ. 2546 รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 ชนะรางวัลทั้งหมด 2 รายการ
ความคิดเห็นจากผู้เขียน
เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ
วลีจากหนังเรื่องนี้ที่หลาย ๆ คน จำได้ดี เรื่องราวของความเชื่อและการพิสูจน์ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ถูกเล่าผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ดีเลยนะ แต่แอบขัดใจที่ตอนจบนิดหน่อยที่อาจจะเทไปในทางความเชื่อมากกว่า อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ก็น่าประทับใจไม่แพ้เรื่องไหนเลย สะท้อนให้เห็นหลายอย่าง ความเชื่อ ความศรัทธาที่มีของคนมากมาย ทั้งคนในท้องถิ่นเองและอีกหลายคนที่เดินทางมาเพื่อชมบั้งไฟพญานาค และหนังเรื่องนี้ก็สะท้อนความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการพิสูจน์ความจริง เป็นหนังที่กล่าวถึงความเชื่อที่อยู่บนบรรทัดฐานของความจริงและการพิสูจน์ของนักวิจัย เราชื่นชมสำหรับเรื่องนี้มาก ๆ และอยากให้ผู้อ่านได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้เช่นกัน
ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ใน Trueid 15 ค่ำ เดือน 11 (คลิกที่ลิ้งค์ได้เลย)
แฟนฉัน
เนื้อเรื่องย่อ
ภาพแห่งอดีต จริงๆ แล้วมันไม่เคยจากไปไหน มันอาจจะซุกอยู่ที่ซอกหนึ่ง ในลิ้นชักความทรงจำ และอยู่อย่างนั้นมาตลอด จนความทรงจำใหม่ๆ เข้ามาทับ เข้ามาซ้อน ดันมันไปจนสุดลิ้นชัก แต่เมื่อใดก็ตามที่ได้ยินเพลงอย่างนี้แว่วมา หรือเห็นรูปภาพสีเหลืองๆ แดงๆ เก่าๆ ความทรงจำในครั้งนั้น ก็เหมือนถูกมือซนๆ หยิบมันออกมาปลุกให้กลับมามีชีวิต… อีกครั้งหนึ่ง
เรื่องราวของน้อยหน่า เพื่อนสนิทของเจี๊ยบที่ถูกเล่าผ่านเขาในวัยหนุ่ม ที่กลับบ้านมาเมื่อได้รับการ์ดแต่งงานที่น้อยหน่าส่งมาให้ที่บ้านของเขา กับเรื่องราวในวัยเด็กที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ
นักแสดง
- ชาลี ไตรรัตน์ รับบท เจี๊ยบ
- โฟกัส จีระกุล รับบท น้อยหน่า
- เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ รับบท แจ๊ค
- ธนา วิชยาสุรนันท์ รับบท พริก
- อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล รับบท บอย
- หยก ธีรนิตยาธาร รับบท มาโนช
- อภิชาญ เฉลิมชัยนุวงศ์ รับบท ตี่
- ภานุชนารถ สีหะอำไพ รับบท เงาะ
- หัทยา รัตนานนท์ รับบท จุก
- สุวรี วรศิลป์ รับบท กิมเตียง
- มัธณา ใจเย็น รับบท โอเล่
- วงศกร รัศมิทัต รับบท ชาญ (พ่อของเจี๊ยบ)
- อนุสรา จันทรังษี รับบท แม่ของเจี๊ยบ
- ปรีชา ชนะภัย (เล็ก คาราบาว) รับบท สมัย (พ่อของน้อยหน่า)
- นิภาวรรณ ทวีพรสวรรค์ รับบท แม่ของน้อยหน่า
- ชวิน จิตรสมบูรณ์ รับบท เจี๊ยบ (ตอนโต)
ภาพยนตร์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ เรื่องราวความรักในวัยเด็ก มิตรภาพ และความทรงจำวัยเด็กในอดีต กำกับการแสดงโดยกลุ่ม 365 ฟิล์ม กลุ่มคนรักหนังของเพื่อนๆ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 29 วิชาเอกภาพยนตร์และภาพนิ่ง ประกอบด้วย นิธิวัฒน์ ธราธร (ต้น), ทรงยศ สุขมากอนันต์ (ย้ง), คมกฤษ ตรีวิมล (เอส), วิทยา ทองอยู่ยง (บอล), วิชชา โกจิ๋ว (เดียว), อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม (ปิ๊ง) และเข้าฉายอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2546
แฟนฉันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ 3 ค่ายอย่าง จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้สูงสุดมูลค่าถึง 137.3 ล้านบาท ในปี 2546 ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งด้านกระแสตอบรับและรายได้เป็นอย่างสูง และด้วยความสำเร็จนั้นทำให้บริษัททั้งสามได้ยุบตัวแล้วรวมตัวกันเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับรางวัลอีกมากมายในปีต่อมาอีกด้ว
รางวัล
- พ.ศ. 2547 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 13 ได้รับรางวัลและถูกเสนอชื่อเข้าชิง 6 รายการ
- พ.ศ. 2547 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 12 ได้รับรางวัลและถูกเสนอชื่อเข้าชิง 4 รายการ
- พ.ศ. 2547 รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 2 ได้รับรางวัล 7 รายการ
- พ.ศ. 2547 รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 1 ได้รับรางวัล 4 รายการ
- พ.ศ. 2547 รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 1 ได้รับรางวัล 2 รายการ
ความคิดเห็นจากผู้เขียน
ภาพยนตร์ที่ทำให้หวนกลับมานึกถึงวัยเด็กของตัว สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้น ร้านขายของชำที่อยู่แถวบ้าน ร้านตัดผมที่ในปัจจุบันหาที่แบบนั้นไม่ได้แล้ว อาจจะมีอยู่แต่ก็น้อยมาก หนังเรื่องนี้สะท้อนเรื่องราวของวัยเด็กไว้ได้ดีมาก ๆ ทำให้เรากลับไปนึกถึงตัวเองในช่วงวัยนั้น แถมยังเล่าเรื่องมิตรภาพของกลุ่มเพื่อนไว้ได้ดีอีกด้วย ชื่นชมมาก ๆ เชื่อว่าหนังเรื่องนี้ใคร ๆ ก็เคยดู วัยไหนก็สามารดูได้ แต่หากว่าใครไม่เคยดูผู้เขียนก็ขอแนะนำหนังเรื่องนี้ไว้อีกสักเรื่อง แล้วคุณจะย้อนนึกถึงวัยเด็กในความทรงจำ ผู้เขียนขอรับประกัน
ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ใน Trueid แฟนฉัน (คลิกที่ลิ้งค์ได้เลย)
ภาพยนตร์ 3 เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เก่าที่ผู้เขียนได้ชมแล้วรู้สึกประทับใจอย่างมาก ภาพยนตร์บางเรื่องก็บันทึกเรื่องราว วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อและความศรัทธาของผู้คนในยุคนั้น ถูกเขียนบทถูกกำกับจากคนที่มองในมุมอดีต มันสะท้อนให้เราเห็น เหมือนการบันทึกอดีตในรูปแบบของภาพยนตร์ อาจจะมีบางสิ่งที่ถูกและไม่ถูกบ้าง แต่ก็อย่างที่กล่าวข้างต้น อยากให้ทุกคนซึมซับเรื่องราวและสนุกไปกับภาพยนตร์ที่ผู้เเขียนกล่าวถึงทั้ง 3 เรื่องนี้
อ้างอิง
"คนขุดแร่" - Google News
June 24, 2020 at 12:10PM
https://ift.tt/3192vXU
3 ภาพยนตร์ไทยที่ควรค่าแก่การรับชม - ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ TrueID In-Trend แพลตฟอร์มบทความ Lifestyle สำหรับคนหนุ่มสาว เกี่ยวกับชุมชนและความหลงใหลใน ชีวิตประจำวัน, ร้านอาหาร และแฟชั่นความงาม
"คนขุดแร่" - Google News
https://ift.tt/2Y0BLWo
0 Comments:
Post a Comment