Wednesday, June 3, 2020

พบเอลาโฟรซอร์ตัวแรกของออสเตรเลีย - ไทยรัฐ

timpahbatu.blogspot.com

ในช่วงต้นปี พ.ศ.2558 เจสสิกา ปาร์คเกอร์ อาสาสมัครในทีมขุดค้นซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลไดโนเสาร์ ได้ค้นพบกระดูกแปลกๆ ในระหว่างการขุดค้นประจำปีที่แหล่งโบราณคดียุคครีเตเชียส ชื่อเอริค เดอะ เรด เวสต์ (Eric the Red West) ตั้งอยู่ใกล้กับแหลมออตเวย์ ในรัฐวิกตอเรีย แห่งออสเตรเลีย

Credit : Swinburne Universityof Technology

ซากกระดูกนั้นยาว 5 เซนติเมตร ในช่วงแรกๆ นักวิจัยเชื่อกันว่าเป็นของสัตว์เลื้อยคลานบินได้กลุ่มเทอโรซอร์ (pterosaur) แม้ว่าจะมีความแตกต่างจากเฟอร์โรดราโก เลนโตนี (Ferrodraco Lentoni) ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ที่ค้นพบในรัฐควีนส์แลนด์ ทว่าทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยสวินเบิร์น ได้ศึกษาในภายหลังเพื่อจะระบุว่าซากกระดูกชิ้นนี้เป็นเทอโรซอร์ชนิดไหน หลังจากการวิจัยอย่างกว้าง ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่านี่คือกระดูกสันหลังส่วนคอของไดโนเสาร์กลุ่มเธอโรพอด (theropod) ที่กินเนื้อเป็นอาหาร ชื่อเอลาโฟรซอร์ (Elaphrosaurs) ไดโนเสาร์ไร้ฟันและเป็นญาติกับไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ที.เร็กซ์ (Tyrannosau-rus rex-T.rex) และเวโลซีแร็พเตอร์ (Velociraptor) รวมถึงนกยุคใหม่

Credit : Ruairidh Duncan

เอลาโฟรซอร์ตัวนี้เป็นครั้งแรกที่พบในออสเตรเลีย มันมีความเกี่ยวข้องเอลาโฟซอรัสที่พบในแทนซาเนีย และลิมูซอรัส (Limusaurus) ที่พบในจีน แต่เอลาโฟรซอร์ในออสเตรเลียมีคอยาว แขนโป่ง มือเล็ก สัมพันธ์กับร่างกายที่ดูแคล่วคล่อง โดยพวกมันมีชีวิตในออสเตรเลียเมื่อ 110 ล้านปีก่อน.

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"คนขุดแร่" - Google News
June 01, 2020 at 10:01AM
https://ift.tt/36ORSur

พบเอลาโฟรซอร์ตัวแรกของออสเตรเลีย - ไทยรัฐ
"คนขุดแร่" - Google News
https://ift.tt/2Y0BLWo
Share:

0 Comments:

Post a Comment